วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด


 สารเสพติดมีอันตรายต่อผู้ใช้หรือผู้เสพ ดังนั้น  เราจึงต้องมีวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด  
ครอบครัวที่อบอุ่นจะเป็นรั้วป้องกันสารเสพติดได้เป็นอย่างดี
| ต้องมีใจคอหนักแน่น  อาจมีเพื่อน ชักชวนให้เสพก็ต้องปฏิเสธอย่าไปเสพไม่ต้องเกรงใจเพื่อนในทางที่ผิด 
| อย่าลองเป็นอันขาด   เพราะจะนำไปสู่การใช้สารเสพติดบ่อยครั้งจนเกิดการติดได้   สารเสพติดบางอย่างเสพครั้งสองครั้งก็ติดแล้ว 
| ต้องคิดใหม่  อย่าคิดแบบเก่า ๆ คือ คิดว่าการเสพสารเสพติดเป็นสิ่งที่โก้เก๋  เป็นคนเก่งเพื่อนฝูงจะยอมรับควรคิดใหม่  คือ ต้องคิดว่าคนที่เสพเป็นคนที่เสพเป็นคนที่น่าอับอาย  น่ารังเกียจเป็นคนอ่อนแอชักจูงง่าย  ถ้าเพื่อนฝูงไม้รับเพราะเราไม้เสพก็ชั่งเขาไม้ต้องไปคบด้วยกับเพื่อนคนที่ชักชวน เราไปสู่ความหายนะ
| ต้องตระหนักถึงพิษภัยเพราะสารเสพติดทุกชนิดมีพิษภัยต่อร่างกายทั้งสิ้น 
| ต้องตระหนักว่าการที่นักเรียนไปใช้สารเสพติด   ถ้าพ่อแม่   ผู้ปกครองรู้จะทำให้ท่านเสียใจ 
| พยายามหลีกเลี่ยงจากสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้สารเสพติด เช่น หลีกเลี่ยงจากเพื่อนที่ใช้สารเสพติด ไม่ไปเที่ยวสถานบันเทิงเริงรมย์   เป็นต้น 
| ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดชนิดต่าง ๆ  เพื่อให้รู้ถึงอันตราย  เรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยง  และป้องกัน    
| ไม่ใช้สารเสพติดเพื่อการรักษาโรคด้วยตนเอง  ยาบางชนิดมีสารเสพติดผสมอยู่ เช่น ยาระงับ
| ปวดบางชนิด    ยาแก้ไอบางชนิด
| ควรหากิจกรรมทำอย่าให้มีเวลาว่างมาก   ขณะนี้มีคำที่นิยมใช้และมีการจัดตั้งกันมากมายก็คือ   “ลานกีฬาต้านยาเสพติด ’’ ซึ่งการเล่นกีฬาจะทำให้สนุกสนานมีเวลาว่างน้อยลงก็จะช่วยไม่ให้คนเราหันเหไปใช้สารเสพติดได้
| ถ้ามีปัญหาไม่พึ่งสารเสพติด ควรปรึกษาพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ญาติผู้ใหญ่
| ถ้าพบว่ามีการจำหน่าย   จ่ายแจกสารเสพติดกันในบริเวณโรงเรียนให้แจ้งครูอาจารย์ 
ถ้านอกโรงเรียนให้บอกผู้ปกครองให้ไปแจ้งตำรวจ   แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัยด้วย  เพราะถ้าผู้จำหน่ายรู้ว่าใครขัดผลประโยชน์หรือทำให้เขาเดือดร้อน

    
แนวทางการป้องกันการใช้สารเสพติดในชุมชน
การป้องกันปัญหาการใช้สารเสพติดนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกๆฝ่ายไม่ว่าจะเป็น  ครอบครัว ชุมชน และ โรงเรียน  เพื่อให้ผลของการป้องกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนี้
การสร้างเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (Family communication) 
 บุคคลในครอบครัวมีส่วนสร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นเกราะป้องกันการใช้สารเสพติดได้ให้ความรู้ เกี่ยวกับโทษ และผลกระทบต่อการใช้สารเสพติด
พ่อแม่ผู้ปกครอง  ควรช่วยให้วัยรุ่นยอมรับและเข้าใจตนเอง ยอมรับในข้อดีข้อเสียของตนเองเพื่อป้องกันการแก้ปัญหาด้วยการใช้สารเสพติด
โรงเรียน ควรส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการ  เพื่อให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์   เพื่อลดการใช้สารเสพติดในโรงเรียน และชุมชนได้
การป้องกันปัญหายาเสพติดแก่ครอบครัวของตนเอง
ช่วยพ่อ  แม่  สอดส่องดูแลน้องๆ  หรือสมาชิกคนอื่น ๆ  ภายในครอบครัวมิให้กระทำสิ่งที่ผิด เช่น การคบเพื่อนที่ไม่ดี  การมั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด เยาวชนควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ สมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวด้วย เช่น การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียร
ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว มีความรักใคร่กลมเกลียวและมีความเข้าใจกัน ช่วยเหลือซึ่งกัน และกันเมื่อมีปัญหา
เมื่อมีโอกาสควรบอกกล่าวหรือตักเตือนสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว โดยเฉพาะน้องๆให้รู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของยาเสพติดวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย
ช่วยทำให้ พ่อ แม่ เกิดความสบายใจและภาคภูมิใจด้วยการประพฤติดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แบ่งเบาภาระหน้าที่การงานของพ่อ แม่ ภายในบ้าน

การป้องกันการติดยาเสพติด 
               ป้องกันตนเอง
| ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
| ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
| ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
| ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
| เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
| เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดหากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษาผู้ใหญ่
ป้องกันครอบครัว

| สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
| รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
| ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
| ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด
ป้องกันชุมชน
| ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
| เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
| สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258 โทรสาร 02-2468526
| ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688
              ป้องกันเพื่อนบ้าน
   โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้เพื่อนบ้านรู้เท่าไม่ ถึงการณ์ ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติดยาเสพติด จงช่วยแนะนำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล

              ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ
    เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ระบาดขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 2527962 , 0-252-5932   และ  ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)   สำนักนายกรัฐมนตรี โทร. 2459350-9

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น