วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โทษและพิษภัยของสารเสพย์ติด


เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกาย และชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก

โทษทางร่างกาย และจิตใจ
                 สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาด และสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิมสภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้านเฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกาย และกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยากอาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม

โทษพิษภัยต่อครอบครัว
ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัวทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง  ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจสูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง

แนวปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด 
สาเหตุของการติดสารเสพติด โดยทั่วไปผู้ที่ติดสารเสพติดมักมีสาเหตุ สภาพทางจิต ซึ่งได้แก่ ขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว  มีจิตใจอ่อนแอไม่หนักแน่น มีความคึกคะนอง          อยากรู้อยากเห็น อยากลอง อยากอวดเพื่อน  คิดว่าเป็นสิ่งที่โก้เก๋ก็มี  หรือแสดงความเป็นชาย  แต่ผู้หญิงบางคนก็เสพสารเสพติดเพราะคิดว่าโก้เก๋ก็มี
สภาพแวดล้อม   ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีผู้ใช้และผู้ขายสารเสพติดกันมาก  มีเพื่อนฝูงที่ใช้สารเสพติด   มีสิ่งยั่วยุแหล่งบันเทิงเริงรมย์  ซึ่งเป็นแหล่งที่มักมีสารเสพติดใช้กัน 
ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์   เนื่องจากขาดความรู้และประสบการณ์  อาจถูกเพื่อนหลอกให้เสพหรือไม่รู้ถึงพิษภัยว่าร้ายแรงเพียงใด   หรือสารเสพติดบางอย่างเสพครั้งสองครั้งก็ติด
ความจำเป็นของร่างกาย   ใช้เนื่องจากระงับความเจ็บปวด   ลดความตึงเครียดทางประสาท หรือบางอาชีพต้องทำงานหนักเป็นเวลานาน  จึงใช้สารเสพติดเพื่อให้ทำงานได้นาน

 การออกฤทธิ์ของสารเสพติด 
ฤทธิ์ของสารเสพติด   แบ่งได้เป็น  4  แบบ  ดังนี้ 

1.             ออกฤทธิ์กดประสาท  ( Depressant ) จะทำให้เกิดอาการมึนงง  ง่วงซึม  หมดแรง 
หายใจช้าลง  สารเสพติดที่ออกฤทธิ์กดประสาท ได้แก่   ยานอนหลับ  เฮโรอีน มอร์ฟีน ฝิ่น  เมธาโดน  เซโคนัล   บาร์บิทูเรต    ฟีโนบาร์บิตาล   โบรไมด์  พาราดีไฮด์


2.             ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท  (  Stimulant )   จะทำให้ประสาทตื่นตัว   กระวนกระวาย 
ไม่ง่วงนอนแต่ถ้าหมดฤทธิ์ยาจะง่วงนอนทันที  อาจทำให้หลับง่ายหรืออาจเกิดการหลับใน อาการอื่นๆ  เช่น  ตัวสั่น  เครียดเป็นต้น  สารเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ได้แก่ ใบกระท่อม  ยาบ้า  โคเคอีน 


3.             ออกฤทธิ์หลอนประสาท   ( Hallucinogen ) จะทำให้ประสาทหลอนทางตา ประสาทสัมผัส หู   จมูก  ลิ้น  การสัมผัสจะเปลี่ยนไปจากความเป็นจริง  สารเสพติดที่ออกฤทธิ์หลอนประสาทได้แก่    กัญชา   แอล.เอส.ดี   ( Lysergic  Acid  Dicthylamide : L.S.D.)  ดี.เอ็ม.ที  (Dimethy   

4.          (Tryptamine : D.M.T.)   กาว  ทินเนอร์ ออกฤทธิ์ผสมผสานกัน  ( Mixed ) จะออกฤทธิ์ทั้ง 2 แบบรวมกัน หรือทั้ง 3 แบบรวมกัน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  สารเสพติดที่ออกฤทธิ์ผสมผสานกัน ได้แก่  กัญชา   ถ้าเสพจำนวนน้อยจะกดประสาทชั่วระยะหนึ่ง  ต่อเมื่อเสพเพิ่มเข้าไปมากจะกลายเป็นพิษหลอนประสาทได้ 
 สารระเหยเมื่อสูดดมในระยะแรกจะกระตุ้นประสารทต่อมาจะหลอนประสาท



วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด


 สารเสพติดมีอันตรายต่อผู้ใช้หรือผู้เสพ ดังนั้น  เราจึงต้องมีวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด  
ครอบครัวที่อบอุ่นจะเป็นรั้วป้องกันสารเสพติดได้เป็นอย่างดี
| ต้องมีใจคอหนักแน่น  อาจมีเพื่อน ชักชวนให้เสพก็ต้องปฏิเสธอย่าไปเสพไม่ต้องเกรงใจเพื่อนในทางที่ผิด 
| อย่าลองเป็นอันขาด   เพราะจะนำไปสู่การใช้สารเสพติดบ่อยครั้งจนเกิดการติดได้   สารเสพติดบางอย่างเสพครั้งสองครั้งก็ติดแล้ว 
| ต้องคิดใหม่  อย่าคิดแบบเก่า ๆ คือ คิดว่าการเสพสารเสพติดเป็นสิ่งที่โก้เก๋  เป็นคนเก่งเพื่อนฝูงจะยอมรับควรคิดใหม่  คือ ต้องคิดว่าคนที่เสพเป็นคนที่เสพเป็นคนที่น่าอับอาย  น่ารังเกียจเป็นคนอ่อนแอชักจูงง่าย  ถ้าเพื่อนฝูงไม้รับเพราะเราไม้เสพก็ชั่งเขาไม้ต้องไปคบด้วยกับเพื่อนคนที่ชักชวน เราไปสู่ความหายนะ
| ต้องตระหนักถึงพิษภัยเพราะสารเสพติดทุกชนิดมีพิษภัยต่อร่างกายทั้งสิ้น 
| ต้องตระหนักว่าการที่นักเรียนไปใช้สารเสพติด   ถ้าพ่อแม่   ผู้ปกครองรู้จะทำให้ท่านเสียใจ 
| พยายามหลีกเลี่ยงจากสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้สารเสพติด เช่น หลีกเลี่ยงจากเพื่อนที่ใช้สารเสพติด ไม่ไปเที่ยวสถานบันเทิงเริงรมย์   เป็นต้น 
| ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดชนิดต่าง ๆ  เพื่อให้รู้ถึงอันตราย  เรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยง  และป้องกัน    
| ไม่ใช้สารเสพติดเพื่อการรักษาโรคด้วยตนเอง  ยาบางชนิดมีสารเสพติดผสมอยู่ เช่น ยาระงับ
| ปวดบางชนิด    ยาแก้ไอบางชนิด
| ควรหากิจกรรมทำอย่าให้มีเวลาว่างมาก   ขณะนี้มีคำที่นิยมใช้และมีการจัดตั้งกันมากมายก็คือ   “ลานกีฬาต้านยาเสพติด ’’ ซึ่งการเล่นกีฬาจะทำให้สนุกสนานมีเวลาว่างน้อยลงก็จะช่วยไม่ให้คนเราหันเหไปใช้สารเสพติดได้
| ถ้ามีปัญหาไม่พึ่งสารเสพติด ควรปรึกษาพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ญาติผู้ใหญ่
| ถ้าพบว่ามีการจำหน่าย   จ่ายแจกสารเสพติดกันในบริเวณโรงเรียนให้แจ้งครูอาจารย์ 
ถ้านอกโรงเรียนให้บอกผู้ปกครองให้ไปแจ้งตำรวจ   แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัยด้วย  เพราะถ้าผู้จำหน่ายรู้ว่าใครขัดผลประโยชน์หรือทำให้เขาเดือดร้อน

    
แนวทางการป้องกันการใช้สารเสพติดในชุมชน
การป้องกันปัญหาการใช้สารเสพติดนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกๆฝ่ายไม่ว่าจะเป็น  ครอบครัว ชุมชน และ โรงเรียน  เพื่อให้ผลของการป้องกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนี้
การสร้างเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (Family communication) 
 บุคคลในครอบครัวมีส่วนสร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นเกราะป้องกันการใช้สารเสพติดได้ให้ความรู้ เกี่ยวกับโทษ และผลกระทบต่อการใช้สารเสพติด
พ่อแม่ผู้ปกครอง  ควรช่วยให้วัยรุ่นยอมรับและเข้าใจตนเอง ยอมรับในข้อดีข้อเสียของตนเองเพื่อป้องกันการแก้ปัญหาด้วยการใช้สารเสพติด
โรงเรียน ควรส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการ  เพื่อให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์   เพื่อลดการใช้สารเสพติดในโรงเรียน และชุมชนได้
การป้องกันปัญหายาเสพติดแก่ครอบครัวของตนเอง
ช่วยพ่อ  แม่  สอดส่องดูแลน้องๆ  หรือสมาชิกคนอื่น ๆ  ภายในครอบครัวมิให้กระทำสิ่งที่ผิด เช่น การคบเพื่อนที่ไม่ดี  การมั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด เยาวชนควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ สมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวด้วย เช่น การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียร
ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว มีความรักใคร่กลมเกลียวและมีความเข้าใจกัน ช่วยเหลือซึ่งกัน และกันเมื่อมีปัญหา
เมื่อมีโอกาสควรบอกกล่าวหรือตักเตือนสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว โดยเฉพาะน้องๆให้รู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของยาเสพติดวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย
ช่วยทำให้ พ่อ แม่ เกิดความสบายใจและภาคภูมิใจด้วยการประพฤติดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แบ่งเบาภาระหน้าที่การงานของพ่อ แม่ ภายในบ้าน

การป้องกันการติดยาเสพติด 
               ป้องกันตนเอง
| ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
| ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
| ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
| ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
| เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
| เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดหากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษาผู้ใหญ่
ป้องกันครอบครัว

| สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
| รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
| ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
| ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด
ป้องกันชุมชน
| ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
| เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
| สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258 โทรสาร 02-2468526
| ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688
              ป้องกันเพื่อนบ้าน
   โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้เพื่อนบ้านรู้เท่าไม่ ถึงการณ์ ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติดยาเสพติด จงช่วยแนะนำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล

              ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ
    เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ระบาดขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 2527962 , 0-252-5932   และ  ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)   สำนักนายกรัฐมนตรี โทร. 2459350-9

ปัญหายาเสพติดของวัยรุ่น


ยาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่ยิ่งใหญ่ ที่ต้องการการแก้ไขอย่างจริงจัง และอย่างจริงใจ ของผู้ที่เกี่ยวข้องแต่เหนือสิ่งอื่นใด ถ้าท่านเป็นวัยรุ่นที่เลือกหัวข้อนี้ขอบอกทันทีเลยว่า ท่านคือ ส่วนที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหา ไม่มีใครที่ติดยาเสพติดโดยที่ตนเองไม่ยินยอมที่จะเสพ เพราะฉะนั้นคำว่า ไม่เริ่ม...ไม่ต้องเลิก ท่านต้องจำ 5 คำนี้ให้ดี คาถาป้องกันปัญหายาเสพติด ท่านทราบดีอยู่แล้วว่ายาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี ดังนั้นท่านต้องหัดปฏิเสธ ท่านต้องเจ้าเล่ห์เพทุบายในการหลบ หลีกเลี่ยงการลองยาเสพติด ที่เพื่อนรักของท่านนำมาให้หรือชักจูงท่านด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ ท่านสามารถที่จะบอกว่าท่านมีอาการแพ้สิ่งนั้นอย่างรุนแรง ท่านมีปอด และระบบทางเดินหายใจไม่ดี เสพที่ใดไอจามทุกที นอนไม่หลับ สารพัดเหตุผลที่ท่านสามารถนำขึ้นมาพูดกับเพื่อนที่แสนที่จะไม่หวังดีต่อท่าน ถ้าท่านตั้งมั่นในดวงใจอยู่เสมอว่า ชั่วชีวิตนี้ท่านจะไม่ยอมติดยาเสพติดเป็นอันขาด
ในโลกนี้มีสิ่งที่งดงามสนุกสนานอีกมากมายที่ท่านสามารถกระทำได้ โดยไม่ก่อให้เกิดการบั่นทอนสุขภาพร่างกาย และจิตใจของตัวเราเอง ตัวเราเองก็ทราบดีอยู่แล้วถึงพิษภัยของของยาเสพติด แล้วทำไมเพื่อนรักของท่านมาชวนท่านเสพยาเสพติด เพื่อนหวังดีกับท่านจริงหรือ  เพื่อนมีอะไรซ่อนเร้นอยู่ในใจหรือเปล่า  เพื่อนเป็นตัวอย่างที่ดีที่ท่านควรทำตามหรือไม่ เพื่อนอยู่ในวงจรอุบาทว์ที่ท่านควรคิดช่วยเขา แทนที่เพื่อนจะมาชวนท่านเสพ แล้วฉุดท่านเข้าไปอยู่ในวงจรอุบาทว์นั้นด้วย มันถูกต้องหรือนี่  การเล่นกีฬาเล่นดนตรี ร้องรำทำเพลง เที่ยวเตร่เพื่อความสนุกสนาน วาดรูป เล่นเกมส์ต่างๆ ท่องเที่ยวไปในโลกของอินเตอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมอีกมากมายที่จะนำความสุขมาสู่ตัวท่าน ท่านต้องรักตัวท่าน ท่านต้องไม่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองของท่านเสียใจ โปรดเชื่อเถิดว่า เสพยาเสพติดไม่นานเกิน 1 ปีหรอก ร่างกายของท่านจะตกอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ การบำบัดรักษาให้เลิกยาเสพติดเป็นไปด้วยความยากลำบาก ถ้าท่านอยู่ในภาวะที่เศร้าโศกเสียใจและยังแก้ปัญหาในขณะนี้ไม่ได้ ยาเสพติดไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาของท่านอย่างแน่นอน ขอให้คิดให้ดีและขอให้ท่านโชคดีแก้ปัญหาให้ได้

เยาวชนกับยาเสพติด
เมื่อพูดถึงปัญหายาเสพติด คนส่วนใหญ่ก็มักจะมุ่งความสนใจไปที่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ค้าและผู้เสพยาเสพติด โดยเฉพาะผู้เสพยาเสพติดที่เป็นเยาวชน ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรง จึงทำให้ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ครู ผู้ปกครอง องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจน สื่อมวลชนต่างก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะการพยายามสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชน ให้มีชีวิตที่ดีงามห่างไกลจากยาเสพติด ซึ่งต้องระมัดระวังทั้งในเรื่องของการสรรหาวิธีการและเลือกเฟ้นเนื้อหา ข้อความที่เข้าถึงเยาวชนได้ตรงจุด ทั้งนี้เพราะเด็กและเยาวชนนั้นจะมีลักษณะพิเศษ เช่น ไม่ชอบให้ใครว่ากล่าวตักเตือนตรง ๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ แต่จะรับข่าวสารข้อมูลได้มากขึ้นถ้าเยาวชนด้วยกัน เป็นผู้ให้ข่าวสารข้อมูลนั้น หรือตนเองเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วย สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) จึงได้จัดรายการโทรทัศน์เพื่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนไทยขึ้น คือ รายการ ฮัลโหล ไทยทีน” (HelloThai Teen) ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์เพื่อการป้องกันยาเสพติดของเยาวชน โดยเยาวชน และเพื่อเยาวชน

รายการ ฮัลโหล ไทยทีนเผยแพร่ออกอากาศทั่วประเทศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.02 - 18.30 น. เป็นประจำมีสมาชิกร่วมแลกเปลี่ยนส่งข่าวสารผ่านรายการทางจดหมาย E-mail โทรศัพท์ และ วิทยุติดตามตัวเป็นจำนวนประมาณ 4,000 ราย โดยมีพิธีกรเป็นเยาวชน และเสนอกิจกรรมทางเลือกของเยาวชนที่หลากหลายทั้งในด้านกีฬา ดนตรี งานอดิเรก และการนำเสนอความคิดเห็นของเด็ก เยาวชน ในเรื่องเป็นหายาเสพติด หากจะมีแขกของรายการที่เป็นผู้ใหญ่เข้าไปร่วมรายการด้วย ก็จะต้องปรับภาษาพูดและเนื้อหาที่นำเสนอให้เป็นเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผล และพูดถึงเรื่องประสบการณ์จริงที่เยาวชนเคยพบเห็น หรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชน
ในการพบปะกับเยาวชนของเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(นายสรสิทธิ์ แสงประเสริฐ) กับน้อง ๆ เยาวชนในรายการโทรทัศน์ ฮัลโหล ไทยทีนแต่ละครั้งได้นำเสนอแนวคิดที่เป็นเหตุเป็นผล และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวอยู่ในวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชน ซึ่งผู้เขียนมองเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเผยแพร่ในการพูดคุยเรื่องยาเสพติดกับเยาวชน ต่อไป จึงได้รวบรวมและเรียบเรียงประเด็นหลัก ๆ ไว้ดังนี้
เยาวชนกับการป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติด

            ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน –ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้ ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา
           จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้ยาหรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน  ใช้บ่อยๆ  ทำให้เกิดการเสพติด  ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สามารถกระทำได้โดย

การสังเกตผู้ติดยาเสพติด


วิธีสังเกตอาการผู้ติดยาเสพติด
จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการ และการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดัง ต่อไปนี้

| การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก
| สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
| ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก
| ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
| ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
| มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน
| ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย
| การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตได้จาก
| เป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
| ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
| ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
| พูดจาก้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง
| ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ
| ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
| ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
| พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว
| มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
| ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ 
| ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา 
| ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย
| มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ
| การสังเกตอาการขาดยา ดังต่อไปนี้
| น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย
| กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจาระเป็นเลือด
| ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ
| ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก
| ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด
| มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง
| เป็นตะคริว
| นอนไม่หลับ
| เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้