วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โทษและพิษภัยของสารเสพย์ติด


เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกาย และชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก

โทษทางร่างกาย และจิตใจ
                 สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาด และสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิมสภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้านเฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกาย และกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยากอาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม

โทษพิษภัยต่อครอบครัว
ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัวทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง  ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจสูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง

แนวปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด 
สาเหตุของการติดสารเสพติด โดยทั่วไปผู้ที่ติดสารเสพติดมักมีสาเหตุ สภาพทางจิต ซึ่งได้แก่ ขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว  มีจิตใจอ่อนแอไม่หนักแน่น มีความคึกคะนอง          อยากรู้อยากเห็น อยากลอง อยากอวดเพื่อน  คิดว่าเป็นสิ่งที่โก้เก๋ก็มี  หรือแสดงความเป็นชาย  แต่ผู้หญิงบางคนก็เสพสารเสพติดเพราะคิดว่าโก้เก๋ก็มี
สภาพแวดล้อม   ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีผู้ใช้และผู้ขายสารเสพติดกันมาก  มีเพื่อนฝูงที่ใช้สารเสพติด   มีสิ่งยั่วยุแหล่งบันเทิงเริงรมย์  ซึ่งเป็นแหล่งที่มักมีสารเสพติดใช้กัน 
ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์   เนื่องจากขาดความรู้และประสบการณ์  อาจถูกเพื่อนหลอกให้เสพหรือไม่รู้ถึงพิษภัยว่าร้ายแรงเพียงใด   หรือสารเสพติดบางอย่างเสพครั้งสองครั้งก็ติด
ความจำเป็นของร่างกาย   ใช้เนื่องจากระงับความเจ็บปวด   ลดความตึงเครียดทางประสาท หรือบางอาชีพต้องทำงานหนักเป็นเวลานาน  จึงใช้สารเสพติดเพื่อให้ทำงานได้นาน

 การออกฤทธิ์ของสารเสพติด 
ฤทธิ์ของสารเสพติด   แบ่งได้เป็น  4  แบบ  ดังนี้ 

1.             ออกฤทธิ์กดประสาท  ( Depressant ) จะทำให้เกิดอาการมึนงง  ง่วงซึม  หมดแรง 
หายใจช้าลง  สารเสพติดที่ออกฤทธิ์กดประสาท ได้แก่   ยานอนหลับ  เฮโรอีน มอร์ฟีน ฝิ่น  เมธาโดน  เซโคนัล   บาร์บิทูเรต    ฟีโนบาร์บิตาล   โบรไมด์  พาราดีไฮด์


2.             ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท  (  Stimulant )   จะทำให้ประสาทตื่นตัว   กระวนกระวาย 
ไม่ง่วงนอนแต่ถ้าหมดฤทธิ์ยาจะง่วงนอนทันที  อาจทำให้หลับง่ายหรืออาจเกิดการหลับใน อาการอื่นๆ  เช่น  ตัวสั่น  เครียดเป็นต้น  สารเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ได้แก่ ใบกระท่อม  ยาบ้า  โคเคอีน 


3.             ออกฤทธิ์หลอนประสาท   ( Hallucinogen ) จะทำให้ประสาทหลอนทางตา ประสาทสัมผัส หู   จมูก  ลิ้น  การสัมผัสจะเปลี่ยนไปจากความเป็นจริง  สารเสพติดที่ออกฤทธิ์หลอนประสาทได้แก่    กัญชา   แอล.เอส.ดี   ( Lysergic  Acid  Dicthylamide : L.S.D.)  ดี.เอ็ม.ที  (Dimethy   

4.          (Tryptamine : D.M.T.)   กาว  ทินเนอร์ ออกฤทธิ์ผสมผสานกัน  ( Mixed ) จะออกฤทธิ์ทั้ง 2 แบบรวมกัน หรือทั้ง 3 แบบรวมกัน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  สารเสพติดที่ออกฤทธิ์ผสมผสานกัน ได้แก่  กัญชา   ถ้าเสพจำนวนน้อยจะกดประสาทชั่วระยะหนึ่ง  ต่อเมื่อเสพเพิ่มเข้าไปมากจะกลายเป็นพิษหลอนประสาทได้ 
 สารระเหยเมื่อสูดดมในระยะแรกจะกระตุ้นประสารทต่อมาจะหลอนประสาท



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น